เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2563 ศูนย์การศึกษาและวิทยาการด้านความมั่นคง กอ.รมน. (ศศว.กอ.รมน.) ได้จัดการสัมมนาวิชาการด้านความมั่นคง ครั้งที่ 1 ขึ้นในหัวข้อเรื่อง "Global MegaTrends and Cyber Security" ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารรื่นฤดี กอ.รมน. กรุงเทพฯ
ผมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนสถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (สวพม.) เข้าร่วมสัมมนา ในการสัมมนามีการบรรยายพิเศษของ ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย ผอ.สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) และ ดร.เมธวิน กิติคุณ กรรมการผู้จัดการ MBRO Global Co.,LTD และกรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เป็นผู้บรรยาย พอสรุปสาระสำคัญของ Global MegaTrends ได้ ดังนี้
เตรียมสู่ยุคการปฏิวัติ A.I.
จากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีเหตุการณ์การปฏิวัติที่สำคัญ 3 ครั้ง ได้แก่ 1) ยุคการปฏิวัติเกษตรกรรม (ศตวรรษที่ 16-17 ) 2) ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ศตวรรษที่ 18-19) และ 3) ยุคการปฏิวัติดิจิทัล (ศตวรรษที่ 20-21) และเมื่อผ่านศตวรรษที่ 21 ไปแล้วจะเข้าสู่ยุคการปฏิวัติปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : A.I) ตามภาพที่แสดงด้านล่าง
ซึ่งหากมาย้อนกลับมาดูในประเทศไทย อาจเทียบเคียงได้ว่า หลังจากยุคไทยแลนด์ 4.0 แล้ว เราจำเป็นจะต้องเตรียมตัวเข้าสู่ยุคการปฎิวัติ A.I. เช่นกัน
ทรัพยากรสำคัญของมนุษย์ในยุคต่าง ๆ ได้แก่ โลกยุคเกษตรกรรม คือ แผ่นดิน (Land) โลกในยุคอุตสาหรรม คือ น้ำมัน (Oil) และโลกในยุด A.I. คือ Big Data
“VUCA World” เป็นคำย่อของ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) อธิบายความได้ดังนี้
- V- Volatility คือ ความผันผวนสูงมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สถานการณ์หรือสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง และรวดเร็ว ไม่สามารถคาดเดาหรือทำนายได้ หรือเป็นสถานการณ์เปลี่ยนฉับพลัน แบบตั้งตัวไม่ทัน หรือรวดเร็วมาก
- U-Uncertainty คือ สภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง คาดการณ์ได้ยาก ขาดความชัดเจน ไม่สามารถหาข้อมูลที่ชัดเจน มายืนยันในแต่ละสถานการณ์ได้ ทำให้ยากต่อการตัดสินใจ
- C-Complexity คือ ความซับซ้อนเชิงระบบที่มากขึ้นเรื่อยๆ มีปัจจัยมากมายและซับซ้อนต่อการตัดสินใจ
- A-Ambiguity คือ ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่สามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจน
ในโลกของ VUCA ไม่มีใครชอบเท่าใดนัก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ความมั่นคง จะกลายเป็น ความผันผวน, ความแน่นอน จะกลายเป็น ความไม่แน่นอน, ความเรียบง่าย จะกลายเป็น ความสลับซับซ้อน, ความชัดเจน จะกลายเป็น ความคลุมเครือ และ ความสะดวกสบาย จะกลายเป็น ความไม่สบาย
แนวโน้มสำคัญ 2 ประการ
แนวโน้มสำคัญ 2 ประการที่ต้องมีการศึกษาให้ชัดเจน ได้แก่
- Global Megatrends หมายถึง ปัญหาที่เกี่ยวข้องโลกของเราและวิธีที่มนุษย์เลือกที่จะอยู่บนโลก ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง (มาแน่ และรู้ว่าอะไรจะมา)
- Tech Disruption Trends หมายถึง การเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยี มนุษย์จะเตรียมตัวอย่างไรสำหรับสิ่งที่ไม่รู้จักในอนาคตเพื่อหลีกเลี่ยงการกลายเป็นชนชั้นที่ไร้ประโยชน์ (มาแน่ แต่ไม่รู้อะไรจะมา)
GLOBAL MEGATRENDS 5 ประการสำคัญของโลก ได้แก่
- การเพิ่มขึ้นของประชากร (Population Boom)
- การเกิดเมืองอย่างรวดเร็ว (Rapid Urbanization)
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Change)
- ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม (Environment Degradation)
- ความมั่งคั่งที่ไม่เท่ากัน (Wealth Inequality)
- สังคมผู้สูงวัย (Aging Society)
Technology Disruptions
การเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาสร้างคุณค่าแทนผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีดั้งเดิม ทำให้สิ่งต่างๆ ที่เคยใช้ในชีวิตประจำวัน ในการทำงาน ในโลกธุรกิจ ในโลกเกษตรกรรม ไปจนถึงโลกของสังคมและเศรษฐกิจ ถูก Disrupt ไป
ตัวอย่าง Technology ที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันว่าถูก Disrupt ไปเรียบร้อยแล้ว ตามภาพที่แสดงไว้ด้านล่าง
ตัวอย่าง Technology ที่กำลังจะถูก Disrupt ในอนาคต ตามภาพที่แสดงไว้ด้านล่าง
สรุป
Global MegaTrends ที่สำคัญคือ โลกกำลังจะเปลี่ยนผ่านจากยุคดิจิทัลเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) ตัวอย่างประเทศที่กำลังเตรียมตัวเปลี่ยนผ่านในเรื่องนี้ คือ จีน แต่ก่อนธุรกิจดิจิทัลของจีน เริ่มมาจากการลอกเลียนแบบจากสหรัฐ (Copy) แล้วนำมาพัฒนาให้ดีกว่า (Development) ต่อมาก็สร้างนวัตกรรมเป็นของตัวเอง (Innovation) และปัจจุบัน จีนก็ปล่อยต่างชาติลอกเลียนแบบได้ (Copy-from-China) ประเทศจีนไม่หวงเทคโนโลยีเพราะเขาเชื่อว่า เขาจะสร้างเทคโนโลยีใหม่ได้เร็วกว่าชาติอื่น ๆ ไม่มีใครตามทัน
ปัจจุบัน 5 ประเทศที่เป็นผู้นำด้านการวิจัย A.I. ได้แก่
- อันดับ 1 จีน
- อันดับ 2 สหรัฐอเมริกา
- อันดับ 3 ญี่ปุ่น
- อันดับ 4 อังกฤษ และ
- อันดับ 5 เยอรมันนี
จีนมุ่งเน้นการวิจัย A.I. เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยทรัพยากรหลักของจีนคือ Big Data จีน ประกาศใช้ "แผนพัฒนา A.I. แห่งชาติ" เมื่อปี ค.ศ. 2017 และภายในปี ค.ศ.2020 จีนจะเป็น "ผู้นำโลกในการประยุกต์ใช้ A.I." และภายในปี ค.ศ.2030 จีนจะเป็น "ศูนยก์ลางโลกด้านนวัตกรรม A.I."
โลกยุค A.I. จะเป็นโลกแห่งความเหลือเฟือในอนาคต ผลผลิตจาก A.I. จะก่อให้เกิดความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น มนุษย์มีช่วงอายุขัยที่ยาวขึ้น มีอาหารที่เหลือเฟือ มีพลังงานทดแทนที่ไม่จำกัด มีการเชื่อมโยงกันอย่างทันทีทันใด และก่อให้เกิดการเดินทางที่ไร้ขอบ แต่ผลิตผลจะอยู่ในการควบคุมของชนชั้นผู้ควบคุม A.I. เกิดการแบ่งชนชั้นออกเป็น 4 ชนชั้น ได้แก่
- Super-Lite ได้แก่ ชนชั้นผู้ควบคุม A.I.
- Professional/Entrepreneurs ได้แก่ ชนชั้นที่มีวิชาชีพ และผู้ประกอบการธุรกิจ
- Worker ได้แก่ ชนชั้นผู้ใช้แรงงาน
- Unemployed ได้แก่ ชนชั้นผู้ที่ตกงาน/ว่างงาน
ชนชั้นคนตกงานหรือว่างงานนี้ จะมีเป็นจำนวนมาก เพราะถูกเทคโนโลยี A.I. เข้ามาแทนที่ ซึ่งเราเรียกชื่อชนชั้นนี้ว่า "ชนชั้นที่ไร้ประโยชน์ (Useless Class)" สุดท้าย ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย ผู้บรรยาย ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า