วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563

นโยบายเร่งด่วนของ รมว.กลาโหม พ.ศ. 2564

นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ต.ค.63 - 30  ก.ย.64) โดยให้ทุกส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญเร่งด่วนในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อสร้างหลักประกันพื้นฐาน ในการรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและการพัฒนาศักยภาพของกระทรวงกลาโหม โดยมุ่งเน้นการปรับรูปแบบการทำงานของหน่วย ตามแนวทางการทำงานของรัฐบาล รองรับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ตลอดจนการผนึกทุกภาคส่วนร่วมวางอนาคต ประเทศไทย ภายใต้ภารกิจ “รวมไทยสร้างชาติ” ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมี นโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้มีผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย การเสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศการปฏิรูปกองทัพและการส่งเสริม การบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาล และการสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา ที่สำคัญของชาติ ดังนี้




ด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ 
  1. ให้ความสำคัญและความเร่งด่วนสูงสุดในการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสมพระเกียรติด้วยการมีระบบถวายความปลอดภัย ที่มีประสิทธิภาพ ป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ ในทุกรูปแบบ เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์คงเป็นศูนย์รวมจิตใจที่มั่นคงและยั่งยืน ของประชาชนชาวไทย และเป็นสถาบันหลักที่สำคัญยิ่งตลอดไป
  2. สืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริรวมทั้งพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานไว้ ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ 70 ปีโดยการสร้างองค์ความรู้และการฝึกอาชีพต่างๆ ให้กำลังพล และครอบครัวภายในหน่วยทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการฝึกอบรม เรียนรู้การเกษตรแบบครบวงจรภายใต้ศาสตร์พระราชาให้แก่กำลังพล ครอบครัว และประชาชนทั่วไป โดยใช้พื้นที่หน่วยทหาร ตลอดจนการประชาสัมพันธ์เผยแพร่พระราชประวัติพระราชกรณียกิจซึ่งสะท้อนถึงความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับประชาชนที่มีมาอย่างยาวนาน
  3. สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน และโรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน ให้สามารถดำเนินโครงการจิตอาสา พระราชทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนงานจิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ และจิตอาสาเฉพาะกิจ โดยมุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ในการที่จะสนองตามพระบรมราโชบาย เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในการสร้างความกินดีอยู่ดีและการเสียสละเพื่อส่วนรวมให้กับประชาชนในทุกด้าน
  4. เสริมสร้างศักยภาพกองทัพและระบบการป้องกันประเทศ ให้มีความพร้อมทั้งในด้านกำลังพล การข่าวกรอง อาวุธยุทโธปกรณ์การฝึกศึกษา การส่งกำลังบำรุงการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหารและระบบการควบคุมบังคับบัญชา ที่ทันสมัย ทั้งในการเตรียมกำลังและการใช้กำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศ โดยยึดมั่นในหลักการ การมีกำลังรบเพื่อป้องกันตนเองและใช้การปฏิบัติการในลักษณะ การรบร่วมป็นหลัก รวมทั้งเพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยมุ่งเน้นการจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่เท่าที่จำเป็น การซ่อมปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เดิม
  5. เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงและความร่วมมือทางทหาร กับประเทศสมาชิกอาเซียน และนานาชาติ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศทั้งในระดับ ทวิภาคีและพหุภาคีโดยนำกลไกของคณะกรรมการในระดับต่างๆและการทูตฝ่ายทหาร มาใช้ในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างและรักษาดุลยภาพของความสัมพันธ์ 3 นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างประเทศสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจสร้างสันติภาพเสถียรภาพ บนพื้นฐานเกียรติภูมิ และผลประโยชน์ของชาติที่เท่าเทียมกัน รวมถึงการปรับรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ กับมิตรประเทศภายใต้สภาวะแวดล้อมฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ตลอดจน การปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย อาทิการปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบ ของสหประชาชาติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนและมิตรประเทศ การต่อสู้วิกฤติการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการแพทย์ทหาร เพื่อให้บทบาทของกองทัพไทย เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
  6. ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting: ADMM) และประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคคู่เจรจา ภายใต้กรอบ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting - Plus: ADMM - Plus) รวมทั้งกลุ่มประเทศในกรอบ การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิค (ASEAN Regional Forum: ARF)และความร่วมมือในกรอบทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียนในระดับนโยบายรวมทั้งการประชุมต่างๆในกรอบคณะกรรมการชายแดนไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเป็นประธานร่วมคณะทำงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางทะเล (Experts’ Working Group on Maritime Security: EWG on MS) ในกรอบ ADMM - Plus ในห้วง ๓ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖) และการสนับสนุนศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Center of Military Medicine: ACMM) 4 นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 
ด้านการปฏิรูปกองทัพและการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
  1. บูรณาการความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกระทรวงกลาโหม ตลอดจนทุกภาคสส่วน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พร้อมทั้งการประเมินผลงานของหน่วยจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตัวจริง และการทำงานเชิงรุก มีเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อพัฒนากองทัพให้มีความทันสมัย รองรับ ภารกิจที่มีความซับซ้อน หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภายใต้ภารกิจ “รวมไทยสร้างชาติ” โดยมุ่งเน้นให้กองทัพมีความเข้มแข็ง โปร่งใส ยุติธรรม และเป็น ที่พึ่งของประชาชนได้ในทุกโอกาส 
  2. ศึกษาแนวทางการปฏิบัติของกระทรวงกลาโหมรองรับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ให้ครอบคลุมทุกมิติ อาทิ ด้านกำลังพล ด้านการข่าว และการรักษาความปลอดภัย ด้านยุทธการและการฝึกศึกษา ด้านการส่งกำลังบำรุง ด้านกิจการพลเรือน ด้านงบประมาณ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคำนึงถึง การเพิ่มระยะห่างทางกายภาพ มาตรการด้านสุขอนามัยอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อดำรงความพร้อมและขีดความสามารถในการปฏิบัติการตลอดจน ปรับปรุงรูปแบบการทำงาน การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา การจัดผลัดการทำงาน อย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  3. ให้เร่งรัดการจัดทำแผนระดับที่ 3 อาทิ แผนปฏิบัติการด้าน..... แผนปฏิบัติราชการ และแผนอื่น ๆ ของกระทรวงกลาโหม ให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเร่งรัดการจัดทำโครงการสำคัญรองรับ แผนระดับที่ 3 โดยให้ความสำคัญกับการรายงานผลการดำเนินโครงการสำคัญ ต่อคณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อย ด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติและการรายงานความคืบหน้าของโครงการสำคัญ เป็นรายไตรมาส ลงในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) 
  4. พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมและกำลังพล ให้มีขนาดเหมาะสม มีขีดความสามารถ เข้มแข็ง มีความยืดหยุ่น คล่องตัว สอดคล้องกับการบริหารราชการยุคใหม่ รวมทั้งพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวม ตลอดจนพัฒนาการให้บริการภาครัฐที่สามารถอำนวยความสะดวก ในการบริการด้านการสัสดีกำลังพลสำรอง และบริการทางการแพทย์ให้กับประชาชน โดยขจัดปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดด้านกฎหมายหรือกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้เกิด การปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ลดเวลา ลดขั้นตอนการให้บริการภาครัฐ ลดภาระประชาชน ตลอดจนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลอย่างรวดเร็ว ถูกต้องชัดเจนในทุกช่องทาง ทั้งสื่อวิทยุ โทรทัศน์สิ่งพิมพ์และสื่อสังคม ออนไลน์
  5. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการการฝึกและศึกษาในสถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหมทุกระดับ และหลักสูตรตามแนวทางการรับราชการ รวมทั้งส่งเสริมให้กำลังพลมีวุฒิการศึกษาทางพลเรือนเพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ และให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของกำลังพล ด้วยการส่งเสริมการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมให้เป็นปัจจัยหลัก ในการพัฒนาประเทศ พร้อมกับมุ่งเน้นการปรับปรุงรูปแบบการฝึกทางทหารให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรและบุคลากรด้านการศึกษา โดยมุ่งเน้นการใช้ภาษาต่างประเทศ ให้มากยิ่งขึ้น
  6. เร่งรัดการพัฒนาขีดความสามารถ ทั้งในด้านกำลังพล เครื่องมือ องค์ความรู้และระบบบริหารจัดการในการปฏิบัติการด้านไซเบอร์ เพื่อรองรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติอย่างต่อเนื่องตลอดจนให้การสนับสนุน การดำเนินการด้านไซเบอร์ระดับประเทศรวมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภายในและต่างประเทศ 
  7. พัฒนาขีดความสามารถด้านกิจการอวกาศของกระทรวงกลาโหม ทั้งด้านดาวเทียมสื่อสาร ด้านดาวเทียมถ่ายภาพ และด้านการเฝ้าระวังทางอวกาศ ในการรองรับภัยคุกคามด้านอวกาศที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติโดยมีเป้าหมาย เพื่อยกระดับขีดความสามารถของกระทรวงกลาโหมจากระดับผู้ใช้งาน (User) สู่การเป็นผู้ควบคุมและบริหารช่องสัญญาณดาวเทียม (Operator) สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในอนาคต และนำไปสู่การพัฒนากิจการอวกาศอย่างยั่งยืน
  8. พัฒนาระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านความมั่นคงรวมทั้งบูรณาการและให้การสนับสนุนส่วนราชการอื่น ๆ ในการใช้ข้อมูล เพื่อการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติตลอดจน การพัฒนาการใช้ระบบดิจิทัล และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในทุกส่วนราชการ ของกระทรวงกลาโหมอย่างทั่วถึง 
  9. เร่งรัดการส่งเสริมและต่อยอดการวิจัย พัฒนา และอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม และสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ โดยจัดทำแนวทางการบูรณาการในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งสู่การผลิตใช้ในราชการการสร้างมาตรฐานทางทหารลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ และพัฒนาต่อยอดไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ตลอดจนจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ รองรับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
  10. บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและหน่ยานข่าวกรองทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาระบบงาน การบริหารจัดการข้อมูล และเชื่อมโยง ระบบภูมิสารสนเทศด้านการข่าว ให้มีความทันสมัย สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการกระทรวงกลาโหมได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
  11. สร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนให้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ เพื่อขจัดปัญหาการสร้างข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ (Fake News) ที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจของกระทรวงกลาโหม ได้อย่างทันท่วงทีด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อสังคมออนไลน์ โดยมุ่งเน้น ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับจากผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม 
  12. ขยายผลการนำกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว จากหน่วยนำร่องที่กำหนดไว้ไปสู่หน่วยกำลังรบและหน่วยสนับสนุนการรบ ให้มี ผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้หน่วยมีกำลังพลในระดับปฏิบัติการที่มีความแข็งแรง และความสดชื่นเข้ามาปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลดภาระผูกพันงบประมาณ ด้านบุคลากรและแก้ไขปัญหากำลังพลสูงอายุในหน่วย พร้อมทั้งพิจารณานำทหารกองประจำการที่ปลดจากกองประจำการแล้วเข้ามาทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวในอนาคต เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ในการคัดเลือกและสร้างแรงจูงใจให้ชายไทยสมัคร เข้าเป็นทหารกองประจำการรวมถึงพิจารณาปรับปรุงแนวทางการดำเนินการและแก้ไข ระเบียบ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องกับการบริหารจัดการกำลังพลในภาพรวม
  13. เร่งรัดการนำข้าราชการพลเรือนกลาโหมมาบรรจุรับราชการ เพื่อทดแทนการบรรจุกำลังทหารประจำการ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมทุกส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม และการบริหารจัดการกำลังพลอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับการปรับ โครงสร้างส่วนราชการ และการปฏิรูประบบงานด้านต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหม ในส่วนที่ราชการขาดแคลน ในตำแหน่งที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะหรือตำแหน่งที่ใช้ ความชำนาญ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อลด การบรรจุกำลังพลโดยไม่จำเป็น
  14. ส่งเสริมและพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมในศาลทหารและระบบกฎหมายที่เกี่ยวกับทหาร โดยยึดมั่นในหลักนิติธรรม ปรับปรุงพัฒนากฎหมายให้ทันสมัย โดยคำนึงถึงความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยและการพัฒนาของประเทศในภาพรวม ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 
  15. ส่งเสริมและพัฒนาระบบงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวงกลาโหม ให้มีการบริหารงาน อย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส เป็นไปตามกฎหมาย และตรวจสอบได้ตามกรอบแนวทาง การประเมินคุณธรรมและความโปร ่งใส ประชาชนมีส ่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น แจ้งเหตุให้หน่วยงานเข้าไปตรวจสอบตามกฎหมาย ประกอบพยานหลักฐานที่ครบถ้วน โดยไม่ถูกแทรกแซง รวมทั้งจัดการต่อข้อร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบให้เป็นไป ตามขั้นตอนและกรอบระยะเวลาที่กำหนดตลอดจนดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างจิตสำนึกตระหนักในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน รวมถึงกำหนดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนตามแนวทางการรับราชการของหน่วยทุกระดับ
  16. เร่งรัดในการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โดยคำนึงถึงความพร้อมและขีดความสามารถของส่วนราชการมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรการที่รัฐบาลกำหนด รวมทั้งให้มีการบูรณาการภารกิจและงบประมาณของส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม และ ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับหน่วยงานหรือกระทรวงอื่น ๆ เพื่อลดความซ้ำซ้อน ประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ 
  17. พัฒนาสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของกำลังพล รวมทั้งครอบครัว ด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการดูแลสิทธิกำลังพลสถานที่ปฏิบัติงาน บ้านพักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นและสิทธิอื่น ๆ ที่พึงได้รับอย่างต่อเนื่อง
  18. พัฒนาศักยภาพของทหารผ่านศึกครอบครัวทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีโดยเพิ่ม ประสิทธิภาพการให้การสงเคราะห์ และการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพ ซึ่งถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับทหารผ่านศึกครอบครัวทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการ ตลอดจนกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันชายแดน และรักษาความมั่นคงภายในประเทศ 
ด้านการสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ การพัฒนา ประเทศ การบรรเทาภัยพิบัติ และการช่วยเหลือประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยเอาชนะ อุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ ก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง ด้วยความร่วมมือ จากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทุกคน
  1. ให้ดำรงความต่อเนื่องในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติปัญหาความเดือดร้อนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อาทิ การให้การสนับสนุนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการปราบปรามขบวนการค้า ยาเสพติดทั้งในพื้นที่ภายในและพื้นที่ชายแดน การปราบปรามการลักลอบเล่นการพนัน ผิดกฎหมายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม หนี้นอกระบบ การค้ามนุษย์การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติและการป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดตามแนวชายแดน และทางทะเล 
  2. ให้ดำรงความต่อเนื่องในการสนับสนุนการดำเนินการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) รวมทั้งสนับสนุน ในการอำนวยการจัดเตรียมพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) และพื้นที่กักกันโรค แห่งรัฐทางเลือก (Alternative State Quarantine) ตลอดจนให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ 
  3. ให้การสนับสนุนรัฐบาลในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ รวมถึงให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย ด้วยการนำศักยภาพของกองทัพมาสนับสนุน การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาขีดความสามารถด้านการแพทย์ของกองทัพและด้านต่าง ๆ เพื่อให้ พร้อมเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคต 
  4. บูรณาการร่วมกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย โดยเฉพาะการป้องกันและลดผลกระทบจากสาธารณภัย และการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของกำลังพลเครื่องมือและยุทโธปกรณ์ให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้การสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือประชาชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ทั้งในกรอบอาเซียนและสหประชาชาติ
  5. ให้การสนับสนุนการดำเนินการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในการแก้ไขปัญหาของชาติและประชาชนให้ครอบคลุมในทุกมิติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี เสริมสร้างการพัฒนาในพื้นที่ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน ควบคู่กับ การบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมและเป็นธรรม และให้ความสำคัญกับการควบคุม สถานการณ์ให้เกิดความสงบ โดยมุ่งเน้นการปราบปรามและสกัดกั้น การลักลอบ ค้ายาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายต่างๆตลอดจนบูรณาการความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถดำรงชีวิต ได้อย่างมีปกติสุขและเกิดความสงบเรียบร้อย และการแก้ไขปัญหาการทำประมง ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) อย่างยั่งยืน โดยดำรงความต่อเนื่องในการประสานการปฏิบัติ ร่วมกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวังการกระทำผิดในรูปแบบต่าง ๆ ทางทะเล อย่างใกล้ชิด รวมทั้งบังคับใช้กฎหมาย/ระเบียบที่มีอยู่อย่างจริงจัง 
  6. ส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้ศักยภาพและทรัพยากรของกระทรวงกลาโหม ในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ในภูมิภาค อาทิการพัฒนาพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลางเมืองการบินภาคตะวันออก การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน รวมทั้งนโยบาย Thailand 4.0 การส่งเสริมการท่องเที่ยวในหน่วยทหาร ที่เน้นคุณภาพมาตรฐาน และการยกระดับทักษะแรงงานให้กับทหารกองประจำการ ก่อนปลดประจำการ

*****************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น