วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563

Global MegaTrends ก่อให้เกิดชนชั้นที่ไร้ประโยชน์ (useless class)

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2563 ศูนย์การศึกษาและวิทยาการด้านความมั่นคง กอ.รมน. (ศศว.กอ.รมน.) ได้จัดการสัมมนาวิชาการด้านความมั่นคง ครั้งที่ 1 ขึ้นในหัวข้อเรื่อง "Global MegaTrends and Cyber Security" ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารรื่นฤดี กอ.รมน. กรุงเทพฯ   

ผมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนสถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (สวพม.) เข้าร่วมสัมมนา ในการสัมมนามีการบรรยายพิเศษของ  ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย ผอ.สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) และ ดร.เมธวิน กิติคุณ กรรมการผู้จัดการ MBRO Global Co.,LTD และกรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เป็นผู้บรรยาย  พอสรุปสาระสำคัญของ Global MegaTrends ได้ ดังนี้

เตรียมสู่ยุคการปฏิวัติ A.I. 
จากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีเหตุการณ์การปฏิวัติที่สำคัญ 3 ครั้ง ได้แก่ 1) ยุคการปฏิวัติเกษตรกรรม (ศตวรรษที่ 16-17 ) 2) ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ศตวรรษที่ 18-19) และ 3) ยุคการปฏิวัติดิจิทัล (ศตวรรษที่ 20-21)  และเมื่อผ่านศตวรรษที่ 21 ไปแล้วจะเข้าสู่ยุคการปฏิวัติปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : A.I)  ตามภาพที่แสดงด้านล่าง


ซึ่งหากมาย้อนกลับมาดูในประเทศไทย อาจเทียบเคียงได้ว่า หลังจากยุคไทยแลนด์ 4.0 แล้ว เราจำเป็นจะต้องเตรียมตัวเข้าสู่ยุคการปฎิวัติ  A.I. เช่นกัน



ทรัพยากรสำคัญของมนุษย์ในยุคต่าง ๆ  ได้แก่ โลกยุคเกษตรกรรม คือ แผ่นดิน (Land) โลกในยุคอุตสาหรรม คือ น้ำมัน (Oil) และโลกในยุด A.I. คือ Big Data

โลกยุค VUCA
“VUCA World” เป็นคำย่อของ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) อธิบายความได้ดังนี้
  • V- Volatility คือ ความผันผวนสูงมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สถานการณ์หรือสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง และรวดเร็ว ไม่สามารถคาดเดาหรือทำนายได้ หรือเป็นสถานการณ์เปลี่ยนฉับพลัน แบบตั้งตัวไม่ทัน หรือรวดเร็วมาก  
  • U-Uncertainty คือ สภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง คาดการณ์ได้ยาก ขาดความชัดเจน ไม่สามารถหาข้อมูลที่ชัดเจน มายืนยันในแต่ละสถานการณ์ได้ ทำให้ยากต่อการตัดสินใจ
  • C-Complexity คือ ความซับซ้อนเชิงระบบที่มากขึ้นเรื่อยๆ มีปัจจัยมากมายและซับซ้อนต่อการตัดสินใจ 
  • A-Ambiguity คือ ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่สามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจน 

ในโลกของ VUCA ไม่มีใครชอบเท่าใดนัก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ความมั่นคง จะกลายเป็น ความผันผวน, ความแน่นอน จะกลายเป็น ความไม่แน่นอนความเรียบง่าย จะกลายเป็น ความสลับซับซ้อน, ความชัดเจน จะกลายเป็น ความคลุมเครือ และ ความสะดวกสบาย จะกลายเป็น ความไม่สบาย

แนวโน้มสำคัญ 2 ประการ
แนวโน้มสำคัญ 2 ประการที่ต้องมีการศึกษาให้ชัดเจน ได้แก่ 
  1. Global Megatrends หมายถึง ปัญหาที่เกี่ยวข้องโลกของเราและวิธีที่มนุษย์เลือกที่จะอยู่บนโลก ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง (มาแน่ และรู้ว่าอะไรจะมา)
  2. Tech Disruption Trends หมายถึง การเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยี  มนุษย์จะเตรียมตัวอย่างไรสำหรับสิ่งที่ไม่รู้จักในอนาคตเพื่อหลีกเลี่ยงการกลายเป็นชนชั้นที่ไร้ประโยชน์ (มาแน่ แต่ไม่รู้อะไรจะมา)

GLOBAL MEGATRENDS
GLOBAL MEGATRENDS 5 ประการสำคัญของโลก ได้แก่
  1. การเพิ่มขึ้นของประชากร (Population Boom)
  2. การเกิดเมืองอย่างรวดเร็ว (Rapid Urbanization)
  3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Change)
  4. ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม (Environment Degradation)
  5. ความมั่งคั่งที่ไม่เท่ากัน (Wealth Inequality)
  6. สังคมผู้สูงวัย (Aging Society)

Technology Disruptions
การเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาสร้างคุณค่าแทนผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีดั้งเดิม ทำให้สิ่งต่างๆ ที่เคยใช้ในชีวิตประจำวัน ในการทำงาน ในโลกธุรกิจ ในโลกเกษตรกรรม ไปจนถึงโลกของสังคมและเศรษฐกิจ ถูก Disrupt ไป

ตัวอย่าง Technology ที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันว่าถูก Disrupt ไปเรียบร้อยแล้ว ตามภาพที่แสดงไว้ด้านล่าง


ตัวอย่าง Technology ที่กำลังจะถูก Disrupt ในอนาคต ตามภาพที่แสดงไว้ด้านล่าง


สรุป 
Global MegaTrends ที่สำคัญคือ โลกกำลังจะเปลี่ยนผ่านจากยุคดิจิทัลเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) ตัวอย่างประเทศที่กำลังเตรียมตัวเปลี่ยนผ่านในเรื่องนี้ คือ จีน แต่ก่อนธุรกิจดิจิทัลของจีน เริ่มมาจากการลอกเลียนแบบจากสหรัฐ (Copy) แล้วนำมาพัฒนาให้ดีกว่า (Development) ต่อมาก็สร้างนวัตกรรมเป็นของตัวเอง (Innovation) และปัจจุบัน จีนก็ปล่อยต่างชาติลอกเลียนแบบได้ (Copy-from-China) ประเทศจีนไม่หวงเทคโนโลยีเพราะเขาเชื่อว่า เขาจะสร้างเทคโนโลยีใหม่ได้เร็วกว่าชาติอื่น ๆ ไม่มีใครตามทัน


ปัจจุบัน 5 ประเทศที่เป็นผู้นำด้านการวิจัย A.I. ได้แก่ 
  • อันดับ 1 จีน 
  • อันดับ 2 สหรัฐอเมริกา
  • อันดับ 3 ญี่ปุ่น 
  • อันดับ 4 อังกฤษ และ
  • อันดับ 5 เยอรมันนี 
จีนมุ่งเน้นการวิจัย A.I. เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยทรัพยากรหลักของจีนคือ Big Data  จีน ประกาศใช้ "แผนพัฒนา A.I. แห่งชาติ" เมื่อปี ค.ศ. 2017 และภายในปี ค.ศ.2020 จีนจะเป็น "ผู้นำโลกในการประยุกต์ใช้ A.I." และภายในปี ค.ศ.2030 จีนจะเป็น "ศูนยก์ลางโลกด้านนวัตกรรม A.I."


โลกยุค A.I. จะเป็นโลกแห่งความเหลือเฟือในอนาคต ผลผลิตจาก A.I. จะก่อให้เกิดความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น มนุษย์มีช่วงอายุขัยที่ยาวขึ้น มีอาหารที่เหลือเฟือ มีพลังงานทดแทนที่ไม่จำกัด มีการเชื่อมโยงกันอย่างทันทีทันใด และก่อให้เกิดการเดินทางที่ไร้ขอบ แต่ผลิตผลจะอยู่ในการควบคุมของชนชั้นผู้ควบคุม A.I. เกิดการแบ่งชนชั้นออกเป็น 4 ชนชั้น ได้แก่
  1. Super-Lite ได้แก่ ชนชั้นผู้ควบคุม A.I.
  2. Professional/Entrepreneurs ได้แก่ ชนชั้นที่มีวิชาชีพ และผู้ประกอบการธุรกิจ
  3. Worker ได้แก่ ชนชั้นผู้ใช้แรงงาน
  4. Unemployed ได้แก่ ชนชั้นผู้ที่ตกงาน/ว่างงาน 
ชนชั้นคนตกงานหรือว่างงานนี้ จะมีเป็นจำนวนมาก เพราะถูกเทคโนโลยี  A.I. เข้ามาแทนที่ ซึ่งเราเรียกชื่อชนชั้นนี้ว่า "ชนชั้นที่ไร้ประโยชน์ (Useless Class)" สุดท้าย ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย ผู้บรรยาย ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า 

"เป็นหน้าที่ของคนรุ่นเรา ที่จะต้องใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่ที่มีอยู่ ลงทุนสร้างอนาคตให้แก่ลูกหลานเราเพื่อจะได้ไม่ตกไปสู่ "ชนชั้นที่ไร้ประโยชน์ (useless class)""



****************************
เรียบเรียงโดย
พลตรี ดร.สุชาต จันทรวงศ์
เลขานุการสถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (SSDRI)
16 ธ.ค.2563

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563

10 อันดับคำค้นหายอดนิยมของไทยในปี 2563

Google คือ Search Engine ยอดนิยมของโลก ที่คนไทยมักชอบเรียกเป็นวลีติดปากว่า "คิดอะไรไม่ออก ถามอากู๋"  อากู๋จะช่วยในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ข้อมูลที่อยู่ในระบบค้นหาของ Google ถือเป็นสุดยอด Big Data ของโลกในยุคปัจจุบัน  Google ได้สร้างเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Google Trends  เพื่อทำหน้าที่เก็บรวมรวบสถิติของการค้นหา ประมวลผล วิเคราะห์และวางแผน ทำให้สามารถทราบถึงแนวโน้มพฤติกรรม รวมถึงความสนใจในการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยชี้ช่องทางให้เจ้าของธุรกิจสามารถใช้วางแผนการตลาดได้อย่างง่ายดาย


10 อันดับคำค้นหายอดนิยมของไทยในปี 2563 
Google Trends ได้สรุป 10 อันดับคำค้นหายอดนิยมของไทยในปี 2563 (ค.ศ.2020) ดังนี้ (ข้อมูลถึงวันที่ 14 ธ.ค.2563) 

อันดับที่ 1 เราไม่ทิ้งกัน 
เริ่มมีการค้นหาห้วง 15-21 มี.ค.2563 มากที่สุด 12-18 เม.ย.2563  ค่อยลดลง ๆ จนกระทั่งผ่าน 23-29 ส.ค.2563 ไป (5 เดือน) จังหวัดที่มีการค้นมากที่สุด 5 อันดับเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี สตูล พัทลุง และยะลา


อันดับที่ 2 คนละครึ่ง
มีการค้นหามาโดยต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี จนกระทั่งมีการค้นหามากขึ้นในห้วง 4-10 ต.ค.2563 ค้นหามากที่สุด 8-14 พ.ย.2563 แล้วทยอยลดลงเรื่อย ๆ ปัจจุบันก็ยังมีการค้นหาอยู่ จังหวัดที่มีการค้นหามากที่สุด 5 อันดับเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กระบี่ พิษณุโลก ลำปาง ราชบุรี และนครศรีธรรมราช


อันดับที่ 3 โควิด 19
มีการค้นหามาโดยต่อเนื่อง จนกระทั่งมีการค้นหามากขึ้นในห้วง 9-15 ก.พ.2563 ค้นหามากที่สุด 19-25 เม.ย.2563 แล้วทยอยลดลงเรื่อย ๆ ปัจจุบันก็ยังมีการค้นหาอยู่ จังหวัดที่มีการค้นหามากที่สุด 5 อันดับเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ พะเยา ระนอง บึงกาฬ อำนาจเจริญ และน่าน


อันดับที่ 4 DLTV  (ช่วงที่มีการปิดโรงเรียนเพื่อป้องกันโควิด 19  และให้ใช้การเรียนออนไลน์แทน)
เริ่มมีการค้นหาห้วง 12-18 เม.ย.2563 มากที่สุด 17-23 พ.ค.2563  ค่อยทยอยลดลง ๆ ปัจจุบันก็ยังมีการค้นหาอยู่ จังหวัดที่มีการค้นมากที่สุด 5 อันดับเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ พัทลุง สตูล หนองบัวลำพู น่าน และอำนาจเจริญ


อันดับที่ 5 เยียวยาเกษตรกร 
เริ่มมีการค้นหาห้วง 19-25 เม.ย.2563 มากที่สุด 17-23 พ.ค.2563  ค่อยทยอยลดลง ๆ จนกระทั่งผ่าน 2-8 ส.ค.2563 ไป (4 เดือน) จังหวัดที่มีการค้นมากที่สุด 5 อันดับเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ พัทลุง สตูล บึงกาฬ กาฬสินธุ์ และอำนาจเจริญ


อันดับที่ 6 เราเที่ยวด้วยกัน  
เริ่มมีการค้นหาห้วง 28 มิ.ย-4 ก.ค.2563 มากที่สุด 12-18 ก.ค.2563  ค่อยทยอยลดลง ๆ จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีการค้นหาอยู่ จังหวัดที่มีการค้นมากที่สุด 5 อันดับเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ สตูล กระบี่ พังงา ภูเก็ต และประจวบคิรีขันธ์




อันดับที่ 7 US Election 2020 (การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2563)
เริ่มมีการค้นหาห้วง 25-31 ต.ค.2563 มากที่สุด 1-7 พ.ย.2563  ค่อยทยอยลดลง ๆ จนกระทั่งผ่าน 15-21 พ.ย.2563 ไป (1 เดือน) จังหวัดที่มีการค้นมากที่สุด 5 อันดับเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ กรุงเทพมหานครฯ แม่ฮ่องสอน นนทบุรี เชียงใหม่ และปทุมธานี



อันดับที่ 8 ร้อยเล่ห์ มารยา  (ละคร ช่อง 3)
เริ่มมีการค้นหาห้วง 27 ก.ย-3 ต.ค.2563 มากที่สุด 8-14 พ.ย.2563  ค่อยทยอยลดลง ๆ จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีการค้นหาอยู่ จังหวัดที่มีการค้นมากที่สุด 5 อันดับเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ เพชรบุรี บึงกาฬ กาญจนบุรี สิงห์บุรี และลำพูน


อันดับที่ 9 ลงทะเบียน รับเงินค่าไฟ  
เริ่มมีการค้นหาห้วง 15-21 มี.ค.2563 มากที่สุด 22-28 มี.ค.2563  ค่อยทยอยลดลง ๆ ค่อยทยอยลดลง ๆ จนกระทั่งผ่าน 17-23 พ.ค.2563 ไป (2 เดือน) จังหวัดที่มีการค้นหาข้อมูล (ไม่สามารถประมวลผลได้)


อันดับที่ 10 สมัครสอบ ก.พ.  
เริ่มมีการค้นหาห้วง 5-11 ม.ค.2563 มากที่สุด 2-8 ก.พ.2563  ค่อยทยอยลดลง ๆ จนกระทั่งผ่าน 16-22 ก.พ.2563 ไป (1 เดือน) จังหวัดที่มีการค้นมากที่สุด 5 อันดับเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ สงขลา พิษณุโลก สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์  และเชียงใหม่



นอกนั้น Google Trends  ยังได้แบ่งการจัดอันดับคำค้นหายอดนิยม ออกไว้อีกจำนวน  11 ด้าน ดังนี้
ด้านข่าว 
  1. โควิด-19
  2. US Election 2020
  3. ข่าวน้องชมพู่
  4. ไวรัส RSV
  5. กราดยิงโคราช
  6. เคอร์ฟิว
  7. สุริยุปราคา 2563
  8. พายุเข้าไทย
  9. โจรปล้นทอง
  10. รถไฟชนรถบัส
ด้านวิธีการ
  1. วิธีใช้คนละครึ่ง
  2. วิธีลงทะเบียนค่าไฟ
  3. วิธีทําหน้ากากอนามัย
  4. วิธีทําเจลล้างมือ
  5. วิธีลงทะเบียนรับเงิน 5000
  6. วิธีลงทะเบียนเยียวยาเกษตรกร
  7. วิธีแก้เครียด
  8. วิธีใส่แมสก์
  9. วิธีลงทะเบียนออมสิน
  10. วิธีป้องกันไวรัสโคโรนา
ด้านการเรียน
  1. เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
  2. เรียนพยาบาล
  3. เรียน ก.พ. ออนไลน์
  4. เรียนบัญชี
  5. เรียนวิศวะ
  6. เรียนตัดผมชาย
  7. เรียนภาษาเกาหลีออนไลน์
  8. เรียนจิตวิทยา
  9. เรียนผู้ช่วยพยาบาล
  10. เรียนทําอาหาร
สูตรอาหาร
  1. สูตรหมูแดดเดียว
  2. สูตรบราวนี่
  3. สูตรขนมครก
  4. สูตรหมักหมูย่าง
  5. สูตรหมักไก่ย่าง
  6. สูตรขนมปัง
  7. สูตรไก่ทอดหาดใหญ่
  8. สูตรแพนเค้ก
  9. สูตรหมูปิ้ง
  10. สูตรหมูทอด
ด้านสถานที่เที่ยว
  1. ที่เที่ยวเชียงใหม่
  2. ที่เที่ยวสุราษฎร์ธานี
  3. ที่เที่ยวพัทยา
  4. ที่เที่ยวหัวหิน
  5. ที่เที่ยวเขาค้อ
  6. ที่เที่ยวเชียงราย
  7. ที่เที่ยวประจวบคีรีขันธ์
  8. ที่เที่ยวระนอง
  9. ที่เที่ยวระยอง
  10. ที่เที่ยวกาญจนบุรี
ประเภทร้าน
  1. ร้านตัดผม
  2. ร้านชานมไข่มุก
  3. ร้านจักรยาน
  4. ร้านกาแฟ
  5. ร้านเสื้อผ้า
  6. ร้านขายยา
  7. ร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่
  8. ร้านแบตเตอรี่
  9. ร้านยํา
  10. ร้านนวดแผนไทย
ร้านอาหาร/ร้านขนม
  1. ร้านเนื้อแท้
  2. ร้าน Coffee War
  3. ร้านไปกันใหญ่
  4. ร้านย่างเนย
  5. ร้านใส่นม
  6. ร้านแซ่บนัว
  7. ร้านไก่ทอง
  8. ร้านปูเป็น ซีฟู้ด
  9. ร้านลาดมะพร้าว
  10. ร้านเขียง
ภาพยนตร์
  1. 365 DNI
  2. มู่หลาน
  3. สุขสันต์วันโสด
  4. Parasite
  5. พี่นาค 2
  6. จอมขมังเวทย์ 2020
  7. ขุนแผน ฟ้าฟื้น
  8. Tenet
  9. Frozen 2
  10. 1917
ละคร
  1. ร้อยเล่ห์มารยา
  2. เนื้อใน
  3. เกมรักเอาคืน
  4. ซ่อนเงารัก
  5. เริงริตา
  6. อกเกือบหักหลงรักคุณสามี
  7. รักแลกภพ
  8. ทุ่งเสน่หา
  9. ไฟสิ้นเชื้อ
  10. ขอเกิดใหม่ใกล้ๆ เธอ
เพลง
  1. วิบวับ
  2. วาฬเกยตื้น
  3. ใส่ใจได้แค่มอง
  4. พักก่อน
  5. มะล่องก่องแก่ง
  6. ฝนเทลงมา
  7. ถ้าเขาจะรัก
  8. กอดเสาเถียง
  9. ขอโทษ
  10. หมอก
ออนไลน์
  1. เรียนออนไลน์
  2. ลอยกระทงออนไลน์
  3. ยื่นภาษีออนไลน์
  4. เวียนเทียนออนไลน์
  5. อบรมใบขับขี่ออนไลน์
  6. ลงทะเบียนเกษตรกร 2563 ออนไลน์
  7. ต่อใบขับขี่ออนไลน์
  8. ดูทีวีออนไลน์
  9. เปิดบัญชีออนไลน์
  10. อบรมออนไลน์
ได้อะไรจาก Google Trends
คำค้นหายอดนิยมของไทยในปี 2563 คนไทยที่ใช้อินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่ล้วนให้ความสนใจค้นหา "คำสำคัญ"  ที่เกี่ยวกับมาตรการเยียวยา และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจากการระบาดของโควิด 19 เป็นหลัก 

จาก 10 อันดับคำค้นหายอดนิยมของไทยในปี 2563 ในภาพรวม และในรายด้านทั้ง 11 ด้าน ทำให้เราสามารถทราบได้ถึงความเป็นไปตลอดปีของสภาพสังคมและวิถีชีวิตของคนไทย "คำค้น" หรือ "คำสำคัญ" ที่เกิดขึ้นในแต่ละห้วงเวลา ล้วนบอกเราเรื่องราวได้อย่างหลากหลาย และยังสามารถอธิบายแนวโน้มในอนาคตได้ สถิติและข้อมูลต่าง ๆ ของ Google Trends ล้วนมีประโยชน์ ต่อรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลาย หากสามารถแปลและวิเคราะห์ความหมายของ Google Trends ได้ถูกต้อง
  

10 อันดับคำค้นหายอดนิยมทั่วโลกปี 2563
ส่วน 10 อันดับคำค้นหายอดนิยมทั่วโลกในปี 2563 Google Trend จัดอันดับ ไว้ดังนี้
  1. Coronavirus (โคโรนาไวรัส) 
  2. Election results (ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2563)
  3. Kobe Bryant (นักบาสเกตบอลชื่อดังชาวอเมริกัน)
  4. Zoom (โปรแกรมประชุมอออนไลน์)
  5. IPL (ลีกคริกเก็ตมืออาชีพของอินเดีย)
  6. India vs New Zealand (ผลการแข่งขันคริกเก็ตระหว่าง อินเดีย กับนิวซีแลนด์)
  7. Coronavirus update (อัปเดตข้อมูลไวรัสโคโรน่า)
  8. Coronavirus symptoms (อาการของไวรัสโคโรน่า)
  9. Joe Biden (ผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา)
  10. Google Classroom (เครื่องมือใช้เรียนออนไลน์ของ Google)
******************************
เรียบเรียงโดย
พลตรี ดร.สุชาต จันทรวงศ์
เลขานุการสถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (SSDRI)
15 ธ.ค.2563

ที่มาข้อมูล
  • Google Trends. (2563). ดูว่าอะไรมาแรงในปี 2020-ไทย. [Online]. Available: https://trends.google.co.th/trends/yis/2020/TH/. [2563 ธันวาคม 15].

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563

นโยบายเร่งด่วนของ รมว.กลาโหม พ.ศ. 2564

นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ต.ค.63 - 30  ก.ย.64) โดยให้ทุกส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญเร่งด่วนในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อสร้างหลักประกันพื้นฐาน ในการรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและการพัฒนาศักยภาพของกระทรวงกลาโหม โดยมุ่งเน้นการปรับรูปแบบการทำงานของหน่วย ตามแนวทางการทำงานของรัฐบาล รองรับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ตลอดจนการผนึกทุกภาคส่วนร่วมวางอนาคต ประเทศไทย ภายใต้ภารกิจ “รวมไทยสร้างชาติ” ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมี นโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้มีผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย การเสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศการปฏิรูปกองทัพและการส่งเสริม การบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาล และการสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา ที่สำคัญของชาติ ดังนี้




ด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ 
  1. ให้ความสำคัญและความเร่งด่วนสูงสุดในการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสมพระเกียรติด้วยการมีระบบถวายความปลอดภัย ที่มีประสิทธิภาพ ป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ ในทุกรูปแบบ เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์คงเป็นศูนย์รวมจิตใจที่มั่นคงและยั่งยืน ของประชาชนชาวไทย และเป็นสถาบันหลักที่สำคัญยิ่งตลอดไป
  2. สืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริรวมทั้งพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานไว้ ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ 70 ปีโดยการสร้างองค์ความรู้และการฝึกอาชีพต่างๆ ให้กำลังพล และครอบครัวภายในหน่วยทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการฝึกอบรม เรียนรู้การเกษตรแบบครบวงจรภายใต้ศาสตร์พระราชาให้แก่กำลังพล ครอบครัว และประชาชนทั่วไป โดยใช้พื้นที่หน่วยทหาร ตลอดจนการประชาสัมพันธ์เผยแพร่พระราชประวัติพระราชกรณียกิจซึ่งสะท้อนถึงความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับประชาชนที่มีมาอย่างยาวนาน
  3. สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน และโรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน ให้สามารถดำเนินโครงการจิตอาสา พระราชทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนงานจิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ และจิตอาสาเฉพาะกิจ โดยมุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ในการที่จะสนองตามพระบรมราโชบาย เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในการสร้างความกินดีอยู่ดีและการเสียสละเพื่อส่วนรวมให้กับประชาชนในทุกด้าน
  4. เสริมสร้างศักยภาพกองทัพและระบบการป้องกันประเทศ ให้มีความพร้อมทั้งในด้านกำลังพล การข่าวกรอง อาวุธยุทโธปกรณ์การฝึกศึกษา การส่งกำลังบำรุงการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหารและระบบการควบคุมบังคับบัญชา ที่ทันสมัย ทั้งในการเตรียมกำลังและการใช้กำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศ โดยยึดมั่นในหลักการ การมีกำลังรบเพื่อป้องกันตนเองและใช้การปฏิบัติการในลักษณะ การรบร่วมป็นหลัก รวมทั้งเพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยมุ่งเน้นการจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่เท่าที่จำเป็น การซ่อมปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เดิม
  5. เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงและความร่วมมือทางทหาร กับประเทศสมาชิกอาเซียน และนานาชาติ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศทั้งในระดับ ทวิภาคีและพหุภาคีโดยนำกลไกของคณะกรรมการในระดับต่างๆและการทูตฝ่ายทหาร มาใช้ในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างและรักษาดุลยภาพของความสัมพันธ์ 3 นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างประเทศสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจสร้างสันติภาพเสถียรภาพ บนพื้นฐานเกียรติภูมิ และผลประโยชน์ของชาติที่เท่าเทียมกัน รวมถึงการปรับรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ กับมิตรประเทศภายใต้สภาวะแวดล้อมฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ตลอดจน การปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย อาทิการปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบ ของสหประชาชาติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนและมิตรประเทศ การต่อสู้วิกฤติการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการแพทย์ทหาร เพื่อให้บทบาทของกองทัพไทย เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
  6. ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting: ADMM) และประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคคู่เจรจา ภายใต้กรอบ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting - Plus: ADMM - Plus) รวมทั้งกลุ่มประเทศในกรอบ การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิค (ASEAN Regional Forum: ARF)และความร่วมมือในกรอบทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียนในระดับนโยบายรวมทั้งการประชุมต่างๆในกรอบคณะกรรมการชายแดนไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเป็นประธานร่วมคณะทำงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางทะเล (Experts’ Working Group on Maritime Security: EWG on MS) ในกรอบ ADMM - Plus ในห้วง ๓ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖) และการสนับสนุนศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Center of Military Medicine: ACMM) 4 นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 
ด้านการปฏิรูปกองทัพและการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
  1. บูรณาการความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกระทรวงกลาโหม ตลอดจนทุกภาคสส่วน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พร้อมทั้งการประเมินผลงานของหน่วยจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตัวจริง และการทำงานเชิงรุก มีเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อพัฒนากองทัพให้มีความทันสมัย รองรับ ภารกิจที่มีความซับซ้อน หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภายใต้ภารกิจ “รวมไทยสร้างชาติ” โดยมุ่งเน้นให้กองทัพมีความเข้มแข็ง โปร่งใส ยุติธรรม และเป็น ที่พึ่งของประชาชนได้ในทุกโอกาส 
  2. ศึกษาแนวทางการปฏิบัติของกระทรวงกลาโหมรองรับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ให้ครอบคลุมทุกมิติ อาทิ ด้านกำลังพล ด้านการข่าว และการรักษาความปลอดภัย ด้านยุทธการและการฝึกศึกษา ด้านการส่งกำลังบำรุง ด้านกิจการพลเรือน ด้านงบประมาณ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคำนึงถึง การเพิ่มระยะห่างทางกายภาพ มาตรการด้านสุขอนามัยอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อดำรงความพร้อมและขีดความสามารถในการปฏิบัติการตลอดจน ปรับปรุงรูปแบบการทำงาน การปฏิบัติงานเหลื่อมเวลา การจัดผลัดการทำงาน อย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  3. ให้เร่งรัดการจัดทำแผนระดับที่ 3 อาทิ แผนปฏิบัติการด้าน..... แผนปฏิบัติราชการ และแผนอื่น ๆ ของกระทรวงกลาโหม ให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเร่งรัดการจัดทำโครงการสำคัญรองรับ แผนระดับที่ 3 โดยให้ความสำคัญกับการรายงานผลการดำเนินโครงการสำคัญ ต่อคณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนย่อย ด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติและการรายงานความคืบหน้าของโครงการสำคัญ เป็นรายไตรมาส ลงในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) 
  4. พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมและกำลังพล ให้มีขนาดเหมาะสม มีขีดความสามารถ เข้มแข็ง มีความยืดหยุ่น คล่องตัว สอดคล้องกับการบริหารราชการยุคใหม่ รวมทั้งพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวม ตลอดจนพัฒนาการให้บริการภาครัฐที่สามารถอำนวยความสะดวก ในการบริการด้านการสัสดีกำลังพลสำรอง และบริการทางการแพทย์ให้กับประชาชน โดยขจัดปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดด้านกฎหมายหรือกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้เกิด การปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ลดเวลา ลดขั้นตอนการให้บริการภาครัฐ ลดภาระประชาชน ตลอดจนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลอย่างรวดเร็ว ถูกต้องชัดเจนในทุกช่องทาง ทั้งสื่อวิทยุ โทรทัศน์สิ่งพิมพ์และสื่อสังคม ออนไลน์
  5. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการการฝึกและศึกษาในสถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหมทุกระดับ และหลักสูตรตามแนวทางการรับราชการ รวมทั้งส่งเสริมให้กำลังพลมีวุฒิการศึกษาทางพลเรือนเพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ และให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของกำลังพล ด้วยการส่งเสริมการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมให้เป็นปัจจัยหลัก ในการพัฒนาประเทศ พร้อมกับมุ่งเน้นการปรับปรุงรูปแบบการฝึกทางทหารให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรและบุคลากรด้านการศึกษา โดยมุ่งเน้นการใช้ภาษาต่างประเทศ ให้มากยิ่งขึ้น
  6. เร่งรัดการพัฒนาขีดความสามารถ ทั้งในด้านกำลังพล เครื่องมือ องค์ความรู้และระบบบริหารจัดการในการปฏิบัติการด้านไซเบอร์ เพื่อรองรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติอย่างต่อเนื่องตลอดจนให้การสนับสนุน การดำเนินการด้านไซเบอร์ระดับประเทศรวมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภายในและต่างประเทศ 
  7. พัฒนาขีดความสามารถด้านกิจการอวกาศของกระทรวงกลาโหม ทั้งด้านดาวเทียมสื่อสาร ด้านดาวเทียมถ่ายภาพ และด้านการเฝ้าระวังทางอวกาศ ในการรองรับภัยคุกคามด้านอวกาศที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติโดยมีเป้าหมาย เพื่อยกระดับขีดความสามารถของกระทรวงกลาโหมจากระดับผู้ใช้งาน (User) สู่การเป็นผู้ควบคุมและบริหารช่องสัญญาณดาวเทียม (Operator) สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในอนาคต และนำไปสู่การพัฒนากิจการอวกาศอย่างยั่งยืน
  8. พัฒนาระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านความมั่นคงรวมทั้งบูรณาการและให้การสนับสนุนส่วนราชการอื่น ๆ ในการใช้ข้อมูล เพื่อการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติตลอดจน การพัฒนาการใช้ระบบดิจิทัล และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในทุกส่วนราชการ ของกระทรวงกลาโหมอย่างทั่วถึง 
  9. เร่งรัดการส่งเสริมและต่อยอดการวิจัย พัฒนา และอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม และสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ โดยจัดทำแนวทางการบูรณาการในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งสู่การผลิตใช้ในราชการการสร้างมาตรฐานทางทหารลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ และพัฒนาต่อยอดไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ตลอดจนจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ รองรับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
  10. บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและหน่ยานข่าวกรองทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาระบบงาน การบริหารจัดการข้อมูล และเชื่อมโยง ระบบภูมิสารสนเทศด้านการข่าว ให้มีความทันสมัย สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการกระทรวงกลาโหมได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
  11. สร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนให้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ เพื่อขจัดปัญหาการสร้างข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ (Fake News) ที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจของกระทรวงกลาโหม ได้อย่างทันท่วงทีด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อสังคมออนไลน์ โดยมุ่งเน้น ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับจากผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม 
  12. ขยายผลการนำกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว จากหน่วยนำร่องที่กำหนดไว้ไปสู่หน่วยกำลังรบและหน่วยสนับสนุนการรบ ให้มี ผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้หน่วยมีกำลังพลในระดับปฏิบัติการที่มีความแข็งแรง และความสดชื่นเข้ามาปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลดภาระผูกพันงบประมาณ ด้านบุคลากรและแก้ไขปัญหากำลังพลสูงอายุในหน่วย พร้อมทั้งพิจารณานำทหารกองประจำการที่ปลดจากกองประจำการแล้วเข้ามาทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวในอนาคต เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ในการคัดเลือกและสร้างแรงจูงใจให้ชายไทยสมัคร เข้าเป็นทหารกองประจำการรวมถึงพิจารณาปรับปรุงแนวทางการดำเนินการและแก้ไข ระเบียบ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องกับการบริหารจัดการกำลังพลในภาพรวม
  13. เร่งรัดการนำข้าราชการพลเรือนกลาโหมมาบรรจุรับราชการ เพื่อทดแทนการบรรจุกำลังทหารประจำการ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมทุกส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม และการบริหารจัดการกำลังพลอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับการปรับ โครงสร้างส่วนราชการ และการปฏิรูประบบงานด้านต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหม ในส่วนที่ราชการขาดแคลน ในตำแหน่งที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะหรือตำแหน่งที่ใช้ ความชำนาญ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อลด การบรรจุกำลังพลโดยไม่จำเป็น
  14. ส่งเสริมและพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมในศาลทหารและระบบกฎหมายที่เกี่ยวกับทหาร โดยยึดมั่นในหลักนิติธรรม ปรับปรุงพัฒนากฎหมายให้ทันสมัย โดยคำนึงถึงความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยและการพัฒนาของประเทศในภาพรวม ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 
  15. ส่งเสริมและพัฒนาระบบงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวงกลาโหม ให้มีการบริหารงาน อย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส เป็นไปตามกฎหมาย และตรวจสอบได้ตามกรอบแนวทาง การประเมินคุณธรรมและความโปร ่งใส ประชาชนมีส ่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น แจ้งเหตุให้หน่วยงานเข้าไปตรวจสอบตามกฎหมาย ประกอบพยานหลักฐานที่ครบถ้วน โดยไม่ถูกแทรกแซง รวมทั้งจัดการต่อข้อร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบให้เป็นไป ตามขั้นตอนและกรอบระยะเวลาที่กำหนดตลอดจนดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างจิตสำนึกตระหนักในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน รวมถึงกำหนดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนตามแนวทางการรับราชการของหน่วยทุกระดับ
  16. เร่งรัดในการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โดยคำนึงถึงความพร้อมและขีดความสามารถของส่วนราชการมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรการที่รัฐบาลกำหนด รวมทั้งให้มีการบูรณาการภารกิจและงบประมาณของส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม และ ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับหน่วยงานหรือกระทรวงอื่น ๆ เพื่อลดความซ้ำซ้อน ประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ 
  17. พัฒนาสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของกำลังพล รวมทั้งครอบครัว ด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการดูแลสิทธิกำลังพลสถานที่ปฏิบัติงาน บ้านพักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นและสิทธิอื่น ๆ ที่พึงได้รับอย่างต่อเนื่อง
  18. พัฒนาศักยภาพของทหารผ่านศึกครอบครัวทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีโดยเพิ่ม ประสิทธิภาพการให้การสงเคราะห์ และการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพ ซึ่งถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับทหารผ่านศึกครอบครัวทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการ ตลอดจนกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันชายแดน และรักษาความมั่นคงภายในประเทศ 
ด้านการสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ การพัฒนา ประเทศ การบรรเทาภัยพิบัติ และการช่วยเหลือประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยเอาชนะ อุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ ก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง ด้วยความร่วมมือ จากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทุกคน
  1. ให้ดำรงความต่อเนื่องในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติปัญหาความเดือดร้อนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อาทิ การให้การสนับสนุนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการปราบปรามขบวนการค้า ยาเสพติดทั้งในพื้นที่ภายในและพื้นที่ชายแดน การปราบปรามการลักลอบเล่นการพนัน ผิดกฎหมายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม หนี้นอกระบบ การค้ามนุษย์การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติและการป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดตามแนวชายแดน และทางทะเล 
  2. ให้ดำรงความต่อเนื่องในการสนับสนุนการดำเนินการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) รวมทั้งสนับสนุน ในการอำนวยการจัดเตรียมพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) และพื้นที่กักกันโรค แห่งรัฐทางเลือก (Alternative State Quarantine) ตลอดจนให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ 
  3. ให้การสนับสนุนรัฐบาลในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ รวมถึงให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย ด้วยการนำศักยภาพของกองทัพมาสนับสนุน การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาขีดความสามารถด้านการแพทย์ของกองทัพและด้านต่าง ๆ เพื่อให้ พร้อมเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคต 
  4. บูรณาการร่วมกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย โดยเฉพาะการป้องกันและลดผลกระทบจากสาธารณภัย และการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของกำลังพลเครื่องมือและยุทโธปกรณ์ให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้การสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือประชาชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ทั้งในกรอบอาเซียนและสหประชาชาติ
  5. ให้การสนับสนุนการดำเนินการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ในการแก้ไขปัญหาของชาติและประชาชนให้ครอบคลุมในทุกมิติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี เสริมสร้างการพัฒนาในพื้นที่ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน ควบคู่กับ การบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมและเป็นธรรม และให้ความสำคัญกับการควบคุม สถานการณ์ให้เกิดความสงบ โดยมุ่งเน้นการปราบปรามและสกัดกั้น การลักลอบ ค้ายาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายต่างๆตลอดจนบูรณาการความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถดำรงชีวิต ได้อย่างมีปกติสุขและเกิดความสงบเรียบร้อย และการแก้ไขปัญหาการทำประมง ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) อย่างยั่งยืน โดยดำรงความต่อเนื่องในการประสานการปฏิบัติ ร่วมกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวังการกระทำผิดในรูปแบบต่าง ๆ ทางทะเล อย่างใกล้ชิด รวมทั้งบังคับใช้กฎหมาย/ระเบียบที่มีอยู่อย่างจริงจัง 
  6. ส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้ศักยภาพและทรัพยากรของกระทรวงกลาโหม ในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ในภูมิภาค อาทิการพัฒนาพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลางเมืองการบินภาคตะวันออก การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน รวมทั้งนโยบาย Thailand 4.0 การส่งเสริมการท่องเที่ยวในหน่วยทหาร ที่เน้นคุณภาพมาตรฐาน และการยกระดับทักษะแรงงานให้กับทหารกองประจำการ ก่อนปลดประจำการ

*****************************************

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศใช้ "นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2562-2565)" ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย.2562 เป็นต้นมา เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านความมั่นคงของชาติใช้เป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์หรือแผนงานด้านความมั่นคงในแต่ละเรื่องต่อไป
 

จากนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง ดังกล่าว สถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง  ได้นำมาใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญของสถาบันฯ  ซึ่งสาระสำคัญของนโยบายและแผนฯ  พอสรุปได้ดังนี้

สถานการณ์และบริบทความมั่นคง (พ.ศ.2562-2565)
จากการวิเคราะห์สถานการณ์และบริบทความมั่นคง พ.ศ.2562-2565 ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของบริบทความมั่นคงในระดับโลก ด้านการเมืองระหว่างประเทศ การครอบครองอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้าง ในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการขยายอิทธิพลและบทบาทของประเทศมหาอำนาจต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การขยายตัวของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค ความขัดแย้งทางดินแดนและการใช้กำลังทหาร ความมั่นคงและผลประโยขน์ทางทะเล ในระดับบริบทความมั่นคงภายในประเทศ เกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ คามขัดแย้งของคนภายในประเทศ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความไม่เชื่อมั่นในการบริหารประเทศตามหลักนิติธรรม ปัญหายาเสพติด ความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของบริบทความมั่นคงข้ามพรมแดน เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภัยคุกคามข้ามชาติ การย้ายถิ่นฐานของประชากร และบริบทการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ภัยคุกคามในรูปแบบอื่น ๆ  (ในช่วงที่จัดทำนโยบายและแผน ฯ ฉบับนี้ ยังไม่เกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19 ดังนั้นการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจของโลก ภูมิภาค และประเทศไทย จึงไม่ได้มีการนำมาวิเคราะห์สถานการณ์รวมอยู่ด้วย)

ที่มาของภาพ กรุงเทพธุรกิจ (2563)

กรอบแนวคิด 7 ชุด
จากการวิเคราะห์สถานการณ์และบริบทความมั่นคง ตามที่กล่าวมาข้างต้น ก่อให้เกิดกรอบแนวคิดของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ จำนวน 7 ชุดแนวคิด ได้แก่
  • ชุดที่ 1 บูรณาการข้อกฏหมายตั้งแต่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580)
  • ชุดที่ 2 น้อมนำศาสตร์พระราชาเป็นหลักการทำงานด้านความมั่นคง
  • ชุดที่ 3 การให้ความสำคัญกับความมั่นคงแบบองค์รวม (Comprehensive Security) ที่ครอบคลุม ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) และความมั่นคงของรัฐ (State Security) ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
  • ชุดที่ 4 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับชาติ และยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals : UN SDGs)
  • ชุดที่ 5 การส่งเสริมประชารัฐ (หน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น และภาควิชาการ) เข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริม/รักษาและเสริมสร้างด้านความมั่นคงตั้งแต่แผนชุมชนจนถึงแผนระดับประเทศ ตามแนวคิด Whole-of-Nation-Approach
  • ชุดที่ 6 การเตรียมพร้อมของประเทศให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบโดยคำนึงถึงสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต
  • ชุดที่ 7 การรักษาดุลยภาพสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนานาประเทศ
กรอบแนวคิดชุดที่ 2 น้อมนำศาสตร์พระราชาเป็นหลักการทำงานด้านความมั่นคง
ที่มาของภาพ กองพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนักนโยบายและแผนกลาโหม (2563)


ผลประโยชน์แห่งชาติ
นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2562-2565) ได้ระบุผลประโยชน์แห่งชาติ ไว้ดังนี้
  1. การมีเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ
  2. การดำรงอยู่อย่างมั่นคงยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติ
  3. การดำรงอยู่อย่างมั่นคงของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ
  4. การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุข เป็นปึกแผ่นความมั่นคงทางสังคม ท่ามกลางพหุสังคม และการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  5. ความเจิญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรม และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
  6. ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงาน อาหาร
  7. ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ
  8. การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีเกียรติ และศักดิ์ศรีในประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก
วัตถุประสงค์แห่งชาติ
  1. เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกของคนในชาติให้มีความจงรักภักดี และธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
  3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความสามัคคีปรองดอง ความเป็นธรรม และความสมานฉันท์ในชาติ เพื่อลดการเผชิญหน้า และการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ
  4. เพื่อให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย ปราศจากเงื่อนไขของการใช้ความรุนแรง
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพของภาครัฐและส่งเสริมบทบาทและความเข็มแข็งของทุกภาคส่วน ในการรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบที่กระทบความมั่นคง
  6. เพื่อให้การจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาหาร มีความมั่นคง ความยั่งยืน และมีความสมดุลกับการขยายตัวของการพัฒนาประเทศ รวมถึงความเสี่ยงจากผลกระทบของกระแสโลกาภิวัฒน์
วิสัยทัศน์
มีเสถียรภาพภายในประเทศ มีศักยภาพในการลดภัยข้ามเขตพรมแดนไทย มีบทบาทสร้างสรรค์ในภูมิภาคและประชาคมโลก
(หมายถึง ชาติมีเสถียรภาพและเป็นปึกแผ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต ประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปลอดภัยจากภัยคุกคามข้ามพรมแดน พร้อมเผชิญวิกฤตการณ์ มีบทบาท ที่สร้างสรรค์และรับผิดชอบเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคและประชาคมโลกเพื่อรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ)

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ จำนวน 16 นโยบาย
  • นโยบายที่ 1 เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 
  • นโยบายที่ 2 สร้างความเป็นธรรม ความปรองดอง และความสมานฉันท์ในชาติ
  • นโยบายที่ 3 ป้องกันและแก้ไขการก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • นโยบายที่ 4 จัดระบบบริหารจัดการชายแดนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาข้ามพรหมแดน
  • นโยบายที่ 5 สร้างเสริมศักยภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ
  • นโยบายที่ 6 ปกป้อง รักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล
  • นโยบายที่ 7 จัดระบบ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง
  • นโยบายที่ 8 เสริมสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันความมั่นคงภายใน
  • นโยบายที่ 9 เสริมสร้างความมั่นคงของชาติจากภัยทุจริต
  • นโยบาย ที่ 10 เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
  • นโยบายที่ 11 รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • นโยบายที่ 12 เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร
  • นโยบายที่ 13 พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
  • นโยบายที่ 14 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ
  • นโยบายที่ 15 พัฒนาระบบงานข่าวกรองให้มีประสิทธิภาพ
  • นโยบายที่ 16 เสริมสร้างดุลยภาพในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ที่มาของภาพ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน (2561)


แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง (หน่วยรับผิดชอบหลัก)
  1. แผนการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
  2. แผนการข่าวกรองและประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคง (สำนักข่าวกรองแห่งชาติ)
  3. แผนการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
  4. แผนการพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
  5. แผนการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ (กระทรวงกลาโหม)
  6. แผนการสร้างความสามัคคีปรองดอง (กระทรวงมหาดไทย)
  7. แผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ) 
  8. แผนการบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
  9. แผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
  10. แผนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด)
  11. แผนการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติจากภัยทุจริต (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ)
  12. แผนการรักษาความมั่นคงพื้นที่ชายแดน (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
  13. แผนการรักษาความมั่นคงทางทะเล (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
  14. แผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
  15. แผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
  16. แผนการรักษาดุลยภาพสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ (กระทรวงการต่างประเทศ)
  17. แผนการรักษาความมั่นคงทางพลังงาน (กระทรวงพลังงาน)
  18. แผนการรักษาความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
  19. แผนการรักษาความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
ที่มาของภาพ ประชาชาติธุรกิจ (2563) 

หลังจากที่ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2562-2565) ได้ประกาศใช้มาจนถึงปัจจุบัน ได้ปีเศษ ๆ แล้ว เราคงยังเห็นได้ชัดเจนว่า กลยทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในหลาย ๆ แผน ยังไม่บรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และตัวชี้วัด ยังไม่สามารถสนองตอบต่อนโยบายและวัตถุประสงค์แห่งชาติได้อย่างชัดเจน อาทิ แผนการสร้างความสามัคคีปรองดอง ความเป็นธรรม และความสมานฉันท์ในชาติ ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีการแตกแยกทางความคิด แบ่งกลุ่มกันอย่างชัดเจน มีการเผชิญหน้าของแต่ละกลุ่ม และแนวโน้มอาจมีการใช้ความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนั้น ยังมีประเด็นเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ.2562 ยังไม่มีการจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติด้านความมั่นคงรองรับไว้แต่อย่างใด

ดังนั้น หน่วยงานด้านความมั่นคงที่เป็นเจ้าภาพบรูณาการประเด็นความมั่นคงนั้น ๆ คงต้องมีการหารือและทบทวนกันใหม่ สร้างกลยุทธ์ที่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายและตัวชี้วัด ของแผนและนโยบาย ได้อย่างแท้จริง 

**********************************
พลตรี ดร.สุชาต  จันทรวงศ์
เลขานุการสถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
3 ธ.ค.2563
ดาวโหลด นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2562-2565)

ที่มาข้อมูล
  • กรุงเทพธุรกิจ. (2563). การเมือง-เศรษฐกิจโลก หลังโควิด-19. [Online]. Available: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/895197. [2563 ธันวาคม 2].
  • กองพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม (2563). ศาสตร์พระราชารัชกาลที่ ๙. [Online]. Available: https://sites.google.com/site/sastrphraracharachkalthi9/. [2563 ธันวาคม 2].
  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน. (2561). ความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. [Online]. Available: http://www.aseanthai.net/1714/ewt/aseanthai/ewt_news.php?nid=8483&filename=index. [2563 ธันวาคม 3].
  • ประชาชาติธุรกิจ. (2563). ตำรวจสลายการชุมนุม ม็อบแยกปทุมวัน. [Online]. Available: https://www.prachachat.net/politics/news-539076. [2563 ธันวาคม 3].